วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อสรุปเกี่ยวกับ WiMAX

ไวแม็กซ์ (WiMAX) เป็นเทคโนโลยีบนบอรดแบนด์ไร้สาย ที่มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 75 Mbps ส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะรัศมีทำการ 30 ไมล์หรือประมาณ 48 กิโลเมตร WiMAX ถูกคาดหวังว่าจะมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนา โดยนำมาใช้สำหรับการส่งสัญญาณเสียงรวมทั้งสื่อในรูปแบบอื่น ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Voice over internet protocol) แทนการส่งสัญญาณผ่านสายทองแดง

เนื่องจากในอนาคตผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนจากการวางสายทองแดงมาเป็นการติดตั้งหอสัญญาณ WiMAX แทนได้เทคโนโลยี WiMAX ก็จะช่วยให้การติดต่อระยะไกล ๆ มีราคาที่ถูกลง และหาก WiMAX มีการใช้งานอย่างแพร่หลายแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่กับที่ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่และสามารถติดต่อกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ผู้นำในการผลิตชิพแนวหน้าของโลก เช่น บริษัท Intel ก็ให้การสนับสนุนและเริ่มมีแผนที่จะผลิตชิพที่เป็น WiMAX เพื่อรองรับมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ Laptop ที่ดีที่สุดในอนาคต

ถึงแม้ขณะนี้ WiMAX จะยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ WiMAX ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีตัวใหม่ที่มีอนาคตสดใส เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และหากมีการขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลได้นั้นก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะผู้ใช้งานทุกคนจะได้มีโอกาสได้ใช้เครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงอย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงเป็นการช่วยสร้างรายได้และโอกาสทางการตลาดให้กับเหล่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมทั้งบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยี WiMAX อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน

ข้อดี และข้อเสียของ WiMAX

ข้อดีของ WiMAX

1. ความเร็ว
WiMAX มีอัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยสามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำให้ไร้ปัญหาในเรื่องของสัญญาณสะท้อน อีกทั้งสถานีฐาน (Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่าง ความเร็ว และระยะทางได้อีกด้วย

2. การบริการที่ครอบคลุม
มาตรฐาน IEEE 802.16a สามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งขยายพื้นที่การให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ ผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศแบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มอัตราความเร็วของ การรับส่งสัญญาณที่ให้สมรรถนะในการทำงานน่าเชื่อถือ

3. ความสามารถในการขยายระบบ
WiMAX สามารถรองรับการใช้งาน Bandwidth และช่องสัญญาณสำหรับการสื่อสารได้ โดยปรับให้สอดคล้องกับแผนการติดตั้งในย่านความถี่ที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ หรือย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก เช่น โอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการได้รับคลื่นความถี่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละส่วนได้อีกด้วย

4. การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ (QoS - Quality of Service)
WiMAX มีคุณสมบัติด้าน QoS (Quality of Service) ที่รองรับการทำงานของบริการสัญญาณเสียงและสัญญาณวิดีโอซึ่งต้องการระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถทำงานด้วยความล่าช้าได้ บริการเสียงของ WiMAX อาจจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Multiplexed (TDM) หรืออยู่ในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอเรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ

5. ระบบรักษาความปลอดภัย
เป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งอยู่ในมาตรฐาน WiMAX ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย




ข้อเสียของ WiMAX

1. เนื่องจาก WiMAX เพิ่งมีการคิดค้นและเริ่มพัฒนา ดังนั้นในเรื่องของมาตรฐาน รวมไปถึงการพัฒนาของผู้ผลิตที่ต้องการนำมาตรฐาน WiMAX ไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานจริงจึงนั้นยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ อุปกรณ์ก็ยังไม่หลากหลายจึงต้องอาศัยเวลากว่าจะได้รับความนิยม

2. อุปกรณ์ WiMAX ค่อนข้างมีราคาสูง เพราะมีการผลิตออกมาใช้น้อย

3. WiMAX ใช้ความถี่ช่วง 2 - 6 GHz (802.16e) และ 11 GHz (802.16d) ซึ่งบางประเทศนั้นมีการควบคุมคลื่นความถี่ในช่วงดังกล่าวต้องมีการขออนุญาตก่อนให้บริการ และในบางประเทศไม่มีข้อกำหนดตรงนี้ ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนวางระบบ WiMAX ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อน

ระบบเครือข่าย WiMAX

1. สถานีฐาน (Base Station: BSS) ทำหน้าที่ควบคุมการทั้งหมดใน Cell Site และเชื่อมต่อกับ Wired Internet Backbone



2. สถานีลูกข่าย (Subscriber Station: SS) ทำหน้าที่ติดต่อกับสถานีส่ง โดยผ่านอุปกรณ์ลูกข่ายที่เรียกว่า CPE (Customer Premises Equipment) เสมือนเป็น Hub ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูลกำลังสูงเพื่อให้ติดต่อระยะไกลได้


จากองค์ประกอบทั้งสองที่ได้กล่าวมาในข้างต้น จะเห็นได้ว่า WiMAX ไม่มีความซับซ้อนเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากสถานีฐาน WiMAX ในแต่ละแห่งนั้นมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลอย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมสามารถบันทึกข้อมูลการใช้งาน และคำนวณหาเส้นทางการรับส่งข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของ IP (Internet Protocol) ได้โดยตรง

ในส่วนของการเชื่อมต่อเครือข่าย WiMAX เข้าหากันนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเช้าเครือข่าย IP เพื่อเชื่อมต่อสถานีฐานเข้าด้วยกัน หรือใช้สถานีฐาน WiMAX ทำการรับส่งสัญญาณแบบ LoS แต่ในกรณีที่ผู้ให้บริการเครือข่าย WiMAX มีเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของตนเองอยู่แล้วก็สามารถใช้ประโยชน์จากวงจรสื่อสัญญาณที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวได้

รูปแบบ WiMAX

1. รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Point to Point เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างสถานีฐานกับลูกข่าย

2. รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Point to Multipoint เป็นการเชื่อมระหว่างสถานีฐานกับหลาย ๆ สถานรีลูกข่ายพร้อม ๆ กัน

3. รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Mesh Topology เป็นการเชื่อมต่อในลักษณะใยแมงมุม โดยสถานีฐานกับสถานีฐานสามารถติดต่อกันได้โดยตรง สถานีฐานติดต่อกับลูกข่ายได้ รวมทั้งลูกข่ายยังสามารถติดต่อกันเองได้อีกด้วย



ดังนั้น WiMAX จึงเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีอัตราความเร็วสูง รวมถึงความโดดเด่นในเรื่องของพื้นที่การให้บริการ จากจุดเด่นในเรื่องการทำงานของ WiMAX ที่ได้กล่าวในข้างต้น ทำให้ WiMAX สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลที่สายเคเบิลลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี

ตลอดจนเพิ่มความสะดวกและประหยัดในการขยายเครือข่ายดังกล่าว คือไม่ต้องทำการขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิ้ลใยแก้ว เนื่องจากเทคโนโลยี WiMAX รองรับและสนุบสนุนการสื่อสารโทรคมนาคมในพื้นที่ที่ห่างไกล โดยเมื่อสิ้นสุดเครือข่ายโทรคมนาคมพื้นฐาน โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ ADSL ก็จะใช้ WiMAX กระจายเข้าสู่พื้นที่สุดท้ายที่อยู่ห่างไกลได้